top of page
5 Force Models

1.การคุกคามของผู้เข้ามาใหม่ (Threat of New Entrants)

ธุรกิจน้ำเต้าหู้พร้อมดื่ม จัดเป็นธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ

ซึ่งเป็นสินค้าที่ผู้ผลิตสามารถเข้าและออกตลาดได้ง่าย เนื่องจากกระบวนการไม่ซับซ้อน ส่วนแบ่งการตลาดจึงมีน้อย เนื่องจากมี

ผู้ประกอบการในตลาดอยู่มาก จากการวิเคราะห์แรงกระทบด้านการเข้ามาของคู่แข่งขันรายใหม่ พบว่าคู่แข่งขันสามารถเข้าสู่ตลาดได้ง่ายทำให้ส่งผลเป็น ด้านลบต่อธุรกิจ

 

2.การแข่งขันระหว่างธุรกิจในอุตสาหกรรม (Industry Competiors)

ผู้ประกอบการในตลาดมีอยู่มาก เมื่อเทียบกับขนาและประชากรในบริเวณมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาขตหาดใหญ่ และเครื่องดื่มน้ำเต้าหู้ ก็มีมากพอกับความต้องการ โดยเฉพาะช่องทางการจัดจำหน่ายที่กระจายตัวอยู่ในบริเวณไกล้เคียง เช่น 7-11 ตลาดเกษตร บิทมอ ตลาดศรีตรัง เป็นต้น และเนื่องจากการทำน้ำเต้าหู้มีต้นทุนต่ำและไม่ยุ่งยาก ถ้าตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายไม่ได้จะทำให้ธุรกิจไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันได้ จากการวิเคราะห์แรงกระทบด้านการแข่งขันระหว่างร้านค้าที่มีอยู่เดิม ตลาดน้ำเต้าหู้เพื่อสุขภาพพร้อมดื่มมีข้อจำกัดในการขยายตลาด จึงส่งผลลบต่อธุรกิจ

 

3.การคุกคามของผลิตภัณฑ์ทดแทน (Threat of substitutes)

น้ำเต้าหู้เป็นธุรกิจที่มีต้นทุนในการผลิตที่ไม่สูง ดังนั้นความเสี่ยงจากการมีสินค้าทดแทนยังถือว่าอยู่ในระดับสูง และเป็นอุปสรรคหากธุรกิจไม่สามารถพัฒนาสินค้าที่ตรงใจผู้บริโภค ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนแนวความคิดที่ว่าเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพจะมีรสชาติที่ไม่อร่อย รวมถึงเพิ่มช่องทาง ในการซื้อสินค้าสะดวกสบายและน่าเชื่อถือโดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และสามารถส่งสินค้าให้ถึงมือผู้บริโภคโดยคงความสดใหม่ ก็จะช่วยให้สามารถดึงกลุ่มผู้บริโภคให้มาซื้อสินค้าและบริการได้มากขึ้น จากการวิเคราะห์แรงกระทบด้านสินค้าทดแทนพบว่า น้ำเต้าหู้เพื่อสุขภาพที่ไม่มีสินค้าทดแทนได้อย่างสมบูรณ์จึงส่งผลเป็นบวกต่อธุรกิจ

 

 

4.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ (Bargaining Power of Buyers)

            อำนาจต่อรองของผู้ซื้อทางตรงค่อนข้างสูง เนื่องจากน้ำเต้าหู้ เป็นสินค้าประเภทหาสิ่งอื่นทดแทนได้ง่าย แต่หากสินค้ามีความแตกต่างจากสินค้าของคู่แข่งที่วางขายทั่วไปตามท้องตลาดก็จะทำให้ผู้ซื้อยินดีที่จะจ่ายเงินเพื่อประโยชน์ที่อยู่ในตัวสินค้าที่มาจากความพิถีพิถันตั้งแต่ กระบวนการผลิตและเน้นความสดใหม่ รวมถึงการแปรรูปผลผลิตที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ทำให้มีกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เท่านั้น จากการวิเคราะห์แรงกระทบด้านอำนาจต่อรองของผู้ซื้อ ธุรกิจมีอำนาจต่อรองสูงกว่าผู้บริโภคจึงส่งผลบวกต่อธุรกิจ

 

5.อำนาจการต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ (Bargaining Power of suppliers)

แหล่งผลิตที่รับน้ำเต้าหู้มาจำหน่ายเป็นแหล่งที่รู้จักซึ่งเราสามารถบอกระดับความเข้มข้นและรสชาติของน้ำเต้าหู้ที่ต้องการในแต่ละวันได้ ทำให้แหล่งผลิตมีต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น แหล่งผลิตจึงสามารถกำหนดราคาน้ำเต้าหู้ที่สูงขึ้นหรือลดปริมาณน้ำเต้าหู้ให้ลดลงเพื่อให้การผลิตนั้นตรงกับความต้องการของธุรกิจ จากการวิเคราะห์แรงกระทบด้านอำนาจต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบ ธุรกิจมีอำนาจต่อรองต่ำกว่าผู้ขายวัตถุดิบจึงส่งผลลบต่อธุรกิจ

bottom of page